เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [5.ปาจิตติยกัณฑ์] 8.สหธรรมิกวรรค 6.อมูลกสิกขาบท นิทานวัตถุ
8. สหธรรมิกวรรค

6. อมูลกสิกขาบท
ว่าด้วยการใส่ความด้วยอาบัติสังฆาทิเสสที่ไม่มีมูล

เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[459] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ใส่ความภิกษุ
ด้วยอาบัติสังฆาทิเสสไม่มีมูล
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวก
ภิกษุฉัพพัคคีย์จึงใส่ความภิกษุด้วยอาบัติสังฆาทิเสสไม่มีมูลเล่า” ครั้นภิกษุทั้งหลาย
ตำหนิพวกภิกษุฉัพพัคคีย์โดยประการต่าง ๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี
พระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอใส่ความภิกษุ
ด้วยอาบัติสังฆาทิเสสไม่มีมูล จริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง พระ
พุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉน
พวกเธอจึงใส่ความภิกษุด้วยอาบัติสังฆาทิเสสไม่มีมูลเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การ
กระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้
เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[460] ก็ ภิกษุใดใส่ความภิกษุด้วยอาบัติสังฆาทิเสสที่ไม่มีมูล ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 2 หน้า :562 }


พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [5.ปาจิตติยกัณฑ์] 8.สหธรรมิกวรรค 6.อมูลกสิกขาบท บทภาชนีย์
สิกขาบทวิภังค์
[461] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็...ใด
คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ
ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้
คำว่า ภิกษุ คือ ภิกษุอื่น
ที่ชื่อว่า ไม่มีมูล คือ ไม่ได้เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้นึกสงสัย
คำว่า อาบัติสังฆาทิเสส คือ ด้วยสังฆาทิเสส 13 สิกขาบท ข้อใดข้อหนึ่ง
คำว่า ใส่ความ ได้แก่ ภิกษุโจทเอง หรือสั่งผู้อื่นให้โจท ต้องอาบัติปาจิตตีย์

บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[462] อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน ใส่ความด้วยอาบัติสังฆาทิเสส
ที่ไม่มีมูล ต้องอาบัติปาจิตตีย์
อุปสัมบัน ภิกษุไม่แน่ใจ ใส่ความด้วยอาบัติสังฆาทิเสสที่ไม่มีมูล ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน ใส่ความด้วยอาบัติสังฆาทิเสสที่ไม่มี
มูล ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ทุกกฏ
ภิกษุใส่ความด้วยอาจารวิบัติหรือทิฏฐิวิบัติ1 ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุใส่ความอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ

เชิงอรรถ :
1 “อาจารวิบัติ” คือมีความประพฤติเสียหาย ต้องอาบัติเล็กน้อย คืออาบัติถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ
ทุกกฏ ทุพภาสิต “ทิฏŸิวิบัติ” คือความเห็นที่คลาดเคลื่อนผิดธรรมผิดวินัย (วิ.อ. 3/84/48-49)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 2 หน้า :563 }